หน้าแรกการเมือง'ปิยบุตร'จ้อรายการไลฟ์สดครั้งแรก!!อัดฝ่ายบริหารขี่คอเหนือฝ่ายนิติบัญญัติทำง่อยเปลี้ยเสียขา

‘ปิยบุตร’จ้อรายการไลฟ์สดครั้งแรก!!อัดฝ่ายบริหารขี่คอเหนือฝ่ายนิติบัญญัติทำง่อยเปลี้ยเสียขา

วันนี้(14 ก.พ.) นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า จัดรายการ”เอาปากกามาวง”ผ่านไลฟ์สดเฟซบุ๊กครั้งแรก ซึ่งเป็นรายการวิเคราะห์ข่าวประจำสัปดาห์
โดยวันนี้เป็นการพูดคุยในหัวข้อ ร่าง พ.ร.บ.ก้าวไกลถูกดอง กลไกอำนาจบริหารเหนือนิติบัญญัติ / เซเลบฟ้องหมิ่นเอาคนเข้าคุก ถึงเวลายกเลิกโทษอาญา? / ขบเหลี่ยมตะวันตก-รัสเซีย ปูตินต้อนรับมาครงด้วยโต๊ะยาว 6 เมตร
.
โดยนายปิยบุตร ระบุว่า สำหรับกลไกต่างๆ ทุกวันนี้ ทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติง่อยเปลี้ยเสียขาไปเรื่อยๆ อำนาจในการตรากฎหมายที่ว่าเป็นของสภา สุดท้ายถูกฝ่ายบริหารคือคณะรัฐมนตรีมาขี่คออยู่เหนือฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งนี้ประเทศไทยปกครองในระบบรัฐสภา ซึ่งแตกต่างจากระบบประธานาธิบดีชัดเจนที่หลักการแบ่งแยกอำนาจ ระบบประธานาธิบดีนั้นแยกขาดชัดเจนระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่ยุ่ง ไม่คาบเกี่ยวกัน ขณะที่ระบบรัฐสภายังยุ่งย่ามเกี่ยวกันอยู่
.
นายปิยบุตร ระบุว่า ขอตั้งข้อสังเกต 5 ข้อ ว่าทำไมร่างกฎหมายที่ ส.ส.เสนอถึงคลอดออกมาได้ยากเย็นแสนเข็ญเหลือเกิน ได้แก่ 1.รัฐธรรมนูญ 2560 ในม.77 ที่เขียนดูดีว่าเวลาจะผ่านกฎหมายอะไรต้องผ่านการรับฟังความเห็นประชาชนก่อน ก่อน ครม.เสนอก็มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นโดยกฤษฏีกาเรียบร้อยแล้ว แต่สำหรับในส่วนของสภาผู้แทนราษฎร ตอนที่ตนยังเป็น ส.ส.ได้เสนอร่างกฎหมายไปตั้งแต่วันแรกของการประชุม แต่ที่สุดก็ต้องรอสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดทำระบบช่องทางรับการฟังความคิดเห็นก่อน ไม่เช่นนั้นร่างกฎหมายเข้าสภาไม่ได้ ซึ่งตนได้แย้งไปเพราะเห็นว่าจะทำให้เสียเวลา เพราะมาตรา 77 ไม่ได้บังคับแต่แค่แนะแนวไว้
.
2.รัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ได้แบ่งปฏิทินการประชุมเป็นสมัยทั่วไปและสมัยนิติบัญญัติเหมือนแต่ก่อน ทำให้ญัตติอื่นๆ ที่เข้ามาทับไปเรื่อยๆ แซงคิวเข้ามา ขณะที่ญัตติเกี่ยวกับการพิจารณากฎหมายตกไปอยู่ลำดับท้ายๆ ไม่ได้พิจารณาเสียที 3.ร่างกฎหมายที่ ครม.เสนอ จะได้รับความสำคัญก่อนร่างที่ ส.ส.เสนอ เพราะถูกแทงเรื่องมาเป็นญัตติด่วน ทำให้แซงคิวได้อยู่เรื่อยๆ ร่างกฎหมายอะไรที่มีมาก่อนถูกแซงคิวหมด ขณะเดียวกัน ร่าง พ.ร.บ.ที่ ส.ส.เสนอ แทบจะไม่มีโอกาสได้เป็นญัตติด่วน 
.
4.คำว่ากฎหมายการเงิน ซึ่งเป็นนิยามที่กว้างมาก คือ ร่างกฎหมายอะไรก็ตามที่มีเนื้อหาว่าต้องนำเงินแผ่นดินไปใช้จะเข่าข่ายตรงนี้ ซึ่งว่าไปก็แทบจะกฎหมายทุกฉบับ ซึ่งเมื่อตีความว่าเป็นกฎหมายการเงิน ก็ต้องให้นายกรัฐมนตรีเป็นคนอนุมัติก่อนถึงจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาได้ และสุดท้าย 5.คำว่าการปฏิรูปประเทศ ในหมวด 16 ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ที่ระบุว่า การพิจารณากฎหมายที่ถูกตีความว่าเป็นกฎหมายปฏิรูป ต้องประชุมพิจารณาร่วมกัน 2 สภา คือ ส.ส และ ส.ว. ซึ่งกฎหมายที่เข้าข่ายกฎหมายปฏิรูปสามารถตีความได้กว้างมาก และการพิจารณาร่วมของ 2 สภาก็จะทำให้รัฐบาลได้ประโยชน์ในการผ่านหรือไม่ผ่านกฎหมาย
.

ThePOINT #ข่าวการเมือง #ปิยบุตรแสงกนกกุล #คณะก้าวหน้า #สภา #สส.

Must Read

Related News

- Advertisement -