ประเพณีไทยมีอยู่หลากหลาย ซึ่งทุกประเพณีล้วนแต่เป็นประเพณีที่สืบสานกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจวบจนถึงปัจจุบัน และปฏิเสธไม่ได้ว่ามีความสวยงามและบ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของความเป็นไทย
ที่ผ่านมารัฐบาลพยายามประชาสัมพันธ์และต่อยอดประเพณีไทยอยู่เนืองๆ โดยมีการผลักดันวัฒนธรรมไทยไปสู่สายตาประชาคมโลก ยกตัวอย่างเช่น การนำ “โนรา” หรือ “Nora, Dance Drama in Southern Thailand” มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity – บัญชี RL) ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 (2003 Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก
นอกจากนี้ ประเทศไทยได้ขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในบัญชี RL แล้ว 3 รายการ ได้แก่ โขน (ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2561) นวดไทย (ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2562) และโนรา (ขึ้นทะเบียนในปี 2564)
ขณะที่รัฐบาลชุดนี้ที่นำโดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง มีแนวคิดที่จะนำประเพณี “ลอยกระทง” ต่อยอดเป็น World Class Festival ทั้งนี้ จะเป็นโจทย์หลักให้กับทางกระทรวงวัฒนธรรม และคณะกรรมการ Soft Power เพื่อไปคิดกันว่าเราจะทำยังไงให้เทศกาลนี้ทั้ง Celebrative, Festive และ Environmental Friendly มากขึ้นอย่างไร
จะเห็นได้ว่ารัฐบาลพยายามรักษาประเพณีไทยได้ดำรงอยู่กับแผ่นดินไทยไว้เป็นแนวคิดที่ถูกต้อง ไม่ใช่หลงประเด็นปล่อยให้ประเพณีถูกทำลายไป เพียงเพราะเหตุผลเรื่องการบริหารจัดการไม่ดี ซึ่งมันเป็นคนละประเด็นกัน
ประเพณีและวัฒนธรรมเป็น Intangible Assets หรือ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ที่สร้างขึ้นได้ยากแต่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ อย่างในบางพื้นที่เช่น อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ถือเป็น Peak Season ของจังหวัดที่รายได้เข้ามาในพื้นที่มากในเทศกาลนี้ ในภาพ Promote ท่องเที่ยวไทยนั้น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มีภาพประเพณีลอยกระทงเป็น Highlight เสมอๆ ซึ่งนายกฯทำถูกแล้ว ไม่หลงประเด็น
ท้ายนี้หวังว่าประเพณี “ลอยกระทง” จะเป็นจุดเริ่มต้น และเป็นแบบอย่างที่ดี ในการนำประเพณีหรือวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม นำมาต่อยอดเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวไทย และสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นอย่างยั่งยืน