นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ หรือ ลอรี่ ผู้กล้า กทม. โพสต์ข้อความระบุว่า ผูกขาดที่แท้”ทรู”…กินดีแทค กินเรียบทั้งประเทศ เรื่องมันมีอยู่ว่า กฎหมายข้อนึง ที่พึงมี และมีความสำคัญในโลกธุรกิจของโลกทุนนิยมปัจจุบัน ก็คือ กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการผูกขาดทางการค้า ซึ่งของไทยนั้นพึ่งมีมาเมื่อปี 2542 ชื่อว่า “พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า” ซึ่งหมายมั่นปั้นมือให้ไม่มีผู้ประกอบการรายใหญ่รายใดรายหนึ่ง สามารถอยู่เหนือวงจร และกำหนดทิศทางในอุตสาหกรรมนั้นๆแบบผูกขาด แต่เชื่อมั้ยผ่านมากว่า 22 ปี ยังไม่มีธุรกิจใดที่ถูกดำเนินคดีว่าด้วยการทำ“การค้าที่ไม่เป็นธรรม” แม้แต่รายเดียว มันแปลกๆมั้ยครับ?!?
.
แม้ว่าจะมีคดีตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้นมา ตั้งแต่ปี 2542-2558 ถึง 96 เรื่อง เรื่องเด่นๆ ก็เช่น กรณีการผูกขาดธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกของ UBC (ปัจจุบันคือ TRUE Vision) ,กรณีการบังคับขายพ่วงสินค้า (Tied-Sale) สุราขาวกับเบียร์ช้าง ,กรณีพฤติกรรมการค้าทีไม่เป็นธรรมในธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ล่าสุด อย่างกรณีCP ผู้เป็นเจ้าฝ่ายผลิต มีMakroที่เป็นร้านค้าส่ง, มี7-11เป็นร้านค้าปลีก, แล้วยังทำการซื้อ Tesco เป็นซูปเปอร์มาร์เก็ต
.
ถ้าสังเกตุให้ดี ตัวละครที่มีคดี ก็วนเวียนอยู่กับบริษัทระดับบิ๊กเนมเดิมๆ… และบางกรณีผลการตัดสินจากคณะกรรมการก็ถือว่า ค้านสายตาเอามากๆ โดยเฉพาะอย่างเคส ที่บริษัท ซี.พี.รีเทล ซื้อเทสโก้ล่าสุด ที่คณะกรรมการตัดสินให้ “ไม่เข้าข่ายผูกขาด” ด้วยคะแนนไม่เอกฉัน ที่4 ต่อ 3คะแนน
.
ทั้งๆ ที่การควบเทสโก้ เข้าไปในซีพี จะทำให้ส่วนแบ่งตลาดของอุตสาหกรรมค้าปลีกไทยอยู่ที่ 83.05% (จาก7-11 รวมกับ เทสโก้ โลตัสเอ็กเพรส) บริษัทซีพี กินเรียบ… ตัวเลข83.05 ไม่ต้องเป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไรมาก เอาแค่หลานผม เด็กเล็กก็รู้ว่าเลขมันเกือบๆร้อย… มันคือป๊อก8 ที่ทำให้ทั้งวงหงายไพ่ได้เลย… ระยะสั้นอาจยังไม่เห็น แต่ระยะยาวเราได้ซื้อข้าวของทุกอย่างแพงแน่ๆ เพราะเล่นมีอยู่ร้านเดียว!!! เค้าจะตั้งราคาแบบไหน ก็ต้องควักเงินให้ไป ใช่มั้ยครับ
.
เด๋วนึกภาพกันไม่ออก อย่างกฎหมายป้องกันการผูกขาดที่อเมริกา..คณะกรรมาธิการว่าด้วยการค้าแห่งสหพันธรัฐของสหรัฐอเมริกา (FTC) ออกคำสั่งเด็ดขาด ให้บริษัท 7-Eleven Inc. เจ้าของกิจการร้านสะดวกซื้อชื่อดังในสหรัฐฯ ต้องขายธุรกิจร้านสะดวกซื้อออกไป จำนวน 293 สาขา ให้กับคู่แข่งรายย่อยอื่นๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมทางการค้า เพราะเห็นว่ามีแนวโน้มในการใช้ทุนสร้างความได้เปรียบผู้แข่งขันรายอื่นเกินไป ..ช่างเด็ดขาดจนเราชื่นชม
.
ตัดภาพมาที่ ทรู ซื้อกิจการ(ภาษาอังกฤษว่า acquire) ดีแทคกัน ปัจจุบันทรูมีผู้ใช้งานกว่า 32 ล้านเลขหมาย ส่วนดีแทคมีผู้ใช้งานกว่า 19.3 ล้านเลขหมาย ในด้านผลประกอบการ ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 ทรูมีรายได้ 103,177 ล้านบาท ส่วนดีแทคมีรายได้ 59,855 ล้านบาท หากรวมกิจการกันจริง ก็จะทำให้ทรู-ดีแทค มีผู้ใช้งานรวมกันราว 51.3 ล้านเลขหมาย ซึ่งมากกว่าเจ้าตลาดอย่างเอไอเอส ซึ่งมีผู้ใช้งานอยู่ 43.7 ล้านเลขหมาย และจะมีรายได้รวมกันถึงกว่า 163,032 ล้านบาท ขึ้นเป็นอันดับ 1ในตลาดทันที
.
เรื่องที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ ดันไปคล้องจองกันกับที่ประเทศมาเลเซียอย่างมีนัยนะ ที่บริษัทเทเลนอร์ มาเลเซีย ซึ่งคือบริษัทแม่ของดีแทคไทย ที่ควบรวมกับ บริษัทเอเชียตา (Axiata) บริษัทโทรคมนาคมของมาเลเซียเมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา และกลายเป็นผู้นำในธุรกิจโทรคมนาคมของมาเลเซียทันที
.
ในระดับนานาประเทศ..แทบไม่มีประเทศไหน ที่มีส่วนเอกชนที่ถือครองระบบโทรคมนาคมเพียง 2เจ้าในประเทศ แม้แต่ประเทศกึ่งสังคมนิยม ก็ยังมี3-4คู่ค้าขึ้นไป …ลองนึกภาพนะรับ เมื่อทรูรวมดีแทค เหลือคู่แข่งแค่ AISอีกรายเดียว.. โปรโมชั่นมือถือที่คุณเคยได้กัน ราคามันจะเปลี่ยนไป.. เมื่อไม่ต้องแข่งขัน เค้าจะสามารถกำหนดราคาตลาดได้มากขึ้น ผลลัพธ์ก็คือค่ามือถือรายเดือนในบิลของคุณ จะค่อยๆแพงขึ้นอย่างแน่นอน ..หนำซ้ำในระยะยาว คุณภาพสัญญาณมือถือก็ไม่ต้องปรับไรมาก มีอยู่แค่นี้ทนๆเอา
.
ดังนั้นเราควรจับตา และจ้องมองอย่างกดดันไปที่ 2หน่วยงานเกี่ยวข้อง คือ กสทช. ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม และคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ภายใต้กระทรวงพานิชย์ ว่าจะตัดสินเรื่องนี้อย่างไร ย้ำชัดๆ อีกครั้งนะครับ…เราไม่ได้เกลียดทรู หรือซีพี.. แต่ทรู หรือ ซีพี ควรถูกผลักดันให้ไปโตเมืองนอก ไปแย่งส่วนแบ่งตลาดจากประเทศอื่น เพื่อเอาเงินเข้าไทย รัฐต้องแสดงออกชัดครับ ไม่ใช่ปล่อยให้กินเรียบ ทุกอุตสาหกรรมขนาดนี้ มันคงไม่มีเหลือโอกาสอะไร ให้ลูกหลานคุณ
.
- Advertisement -