นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ หรือ ลอรี่ ผู้กล้า กทม. เปิดเผยว่า “นักการเมือง คือ คนที่ทำเพื่อเมือง ส่วนเรื่องคะแนนเสียงสำหรับผมไม่ใช่เรื่องสาระสำคัญ..”ลอรี่ พงศ์พล ยอดเมืองเจริญ ให้ทัศนะส่วนตัว ที่น่าจะบรรยายความแปลกใหม่ ไม่เหมือนนักการเมืองอาชีพเลยซักนิด
.
ด้วยความที่คุณลอรี่ พงศ์พล เป็นผู้ประกอบการสายสตาร์ทอัพ และทำงานด้านดีไซน์ในนิวยอร์ค ประเทศอเมริกามานาน.. เค้ามองตัวเองเป็นนักแก้ปัญหา มากกว่านักการเมือง ..โมเดลนี้เหมือนกับสตาร์ทอัพ คือBusiness Unit ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาให้ผู้ใช้งานก่อน เมื่อคอนเซ็ปท์มันไปได้ ..ค่อยประคองตัว ระดมทุนให้องค์กรมีรายได้พอเลี้ยงตัวเองต่อไป
.
ลอรี่ จึงมุ่งเน้นลงพื้นที่เพื่อเข้าใจปัญหาท้องที่, จุดคันในชุมชน (Pain Point) เอาไปวิเคราะห์-ประเมิณ เพื่อหาsolutionที่เหมาะเจาะที่สุดเพื่อแก้ปัญหาแต่ละท้องที่ เอาทีมเข้าช่วยเหลือ..และแน่นอน เมื่อทีมงานไม่ได้มีงบสนับสนุนจากภาครัฐ …ทีมจะทำการFundraising เพื่อหางบประมาณจากกลุ่มบุคคล, หน่วยงานที่อยากช่วยเหลือ เพราะเค้าเห็นผลงานที่แก้ปัญหาให้คนในชุมชนชัดเจน .. เช่น ปัญหาที่ทีมลอรี่เจอ จากการลงชุมชนไปกว่า 14 ชุมชน รอบเขตวัฒนา-คลองเตย เหมือนๆกัน คือเรื่องความปลอดภัย จากการที่แสงสว่างไม่เพียงพอ, ซอยและถนนหนทางเปลี่ยวยามดึก ที่อาจแก้ไขจากการติดตั้งไปโซล่าเซลในบางจุด..
.
อีกทั้งปัญหาเฉพาะหน้าตอนนี้คือเรื่องสถานการณ์โควิด ชาวบ้านต้องการการเยียวยาเฉพาะหน้า ในแง่ของอาหาร, ยารักษาโรค ..ซึ่งทีมงานลอรี่ก็ได้มีการจัดปันสรร ถุงยังชีพกว่าพันถุง, นม, ยาสมุนไพร, อาหารแห้ง, ชุดPPE และ ชุดตรวจAntigen ให้ชุมชนอย่างต่อเนื่อง ..มีการส่งหน่วยม้าเร็วของทีม วิ่งไปSwab Test ให้กับชาวบ้าน แม่และเด็กในชุมชน.. ตัวอย่างเช่นมีเคสคนจรจัด ที่เร่ร่อนในพื้นที่คลองเตยที่ไม่มีคคนเหลียวแล ทีมงานลอรี่เข้าตรวจ ก่อนที่จะตรวจพบผลเป็นบวก และทีมงานได้มีการส่งตัวเข้ารพ. กล้วยน้ำไทในลำดับถัดมา
.
นอกจากแนวทางการเยียวยาชาวบ้านเฉพาะหน้า ..ทีมงานลอรี่ มีการสนับสนุนศูนย์พักคอยผู้ป่วยภายในพื้นที่ เพื่อการดูแลและคัดแยก ซึ่งเป็นทางออกของปัญหาที่ยั่งยืนกว่า.. อย่างศูนย์พักคอยมัสยิดบ้านดอน, ศูนย์พักคอยมัสยิดสามอิน ในเขตวัฒนา.. ทีมงานจัดส่งถุงยังชีพ, แอลกอฮอล์ และสนับสนุนข้าวสาร- วัตถุดิบ สำหรับการทำครัวเลี้ยงผู้ป่วยในศูนย์พัก.. อีกทั้งสนุบสนุน ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร เพื่อช่วยเหลือโรงพยาบาลสนาม อย่างรพ.สนามวัดสะพาน ของท่านเจ้าอาวาส พระวินยานุวัติคุณ
.
ท่ามกลางพรรคการเมืองมากมาย ที่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย.. พรรคกล้า น่าจะเป็นจุดลงตัวที่สุดที่ลอรี่เข้าร่วมงานด้วย.. เพราะนอกจากนโยบายการลงมือทำเข้าช่วยประชาชนอย่างเต็มที่ และไม่ต้องดราม่ากับใคร.. หัวหน้า, เลขาธิการ และผู้บริหารพรรคทุกท่าน ล้วนมีความตั้งใจจริงในการสร้างสถาบันการเมืองเล็กๆ ที่จะสร้างผลงานที่ยิ่งใหญ่ ..ลอรี่ เห็นพ้องกับพรรคกล้าเป็นพิเศษในเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อคนตัวเล็ก เพราะทุกประเทศที่เจริญแล้ว รากฐานเศรษฐกิจต้อง เริ่มจากSMEs บริษัทขนาดเล็ก-กลาง ที่เข้มแข็ง เพื่อการกระจายรายได้ที่ดีกว่า การขึ้นกับบริษัทยักษ์ไม่กี่เจ้าที่ผูกขาดหมดทั้งอุตสาหกรรม อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
.
ส่วนช่วงPost-Covid ลอรี่เห็นว่า ประเทศที่จะพัฒนาไปได้ไกลและเร็วที่สุด.. ต้องตื่นตัวในการปรับนโยบาย 3ส่วนใหญ่ๆ เพราะตัวไวรัสมันจะไม่หมดหายไปจากโลก..
.
1) ส่วนแรกนโยบายสาธารณสุขมาตราฐานใหม่ ส่งเสริม New-Normalให้เกิดขึ้นอย่างมีรูปธรรม.. ระบบขนส่งสาธารณะอย่างรถเมล์, รถไฟฟ้า ต้องมีfacilityที่แบ่งโซนนิ่งพื้นที่คนให้ยืนไม่แออัด.. ราวจับ หรือ ตามประตูทางเข้า มีเซนเซอร์ฉีดน้ำยา หรือรังสีUVB เพื่อฆ่าเชื้อ ..นี่เป็นมาตรการเล็กๆ น่าจะเป็นส่วนที่สร้างความเชื่อมั่นให้บรรยากาศการทำงาน, จับจ่ายซื้อของภายในเมือง รวมถึงดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมา ให้ครึกครื้นขึ้นได้อีกครั้ง..
.
2) อีกทั้งการพัฒนาเทคโนโลยี ที่เอื้อแก่การWFHแบบเอกชน ทำแพลทฟอร์ม GovTech ของรัฐ ที่ช่วยให้การติดต่องานกับราชการ เป็นไปได้โดยง่ายด้วยระบบออนไลน์100% ลดการcontactสัมผัส ลดความเสี่ยง.. ไม่ให้เกิดคลัสเตอร์ที่ไม่จำเป็น ตามที่เห็นในภาพข่าว ช่วงรุมฉีดวัคซีนตามสถานที่ที่รัฐจัดไว้
.
3) สุดท้ายส่งเสริมเรื่อง E-Commerceเต็มรูปแบบ ตัวอย่างจากประเทศมาเลเซีย ที่ 3เดือนก่อนมีการล็อคดาวน์ทั้งประเทศ รัฐมีโปรแกรมช่วยเหลือร้านค้าSMEs ด้วยการส่งหน่วยงานเอาร้านค้าผู้เฒ่าผู้แก่ ที่เข้าไม่ถึงช่องทางขายออนไลน์ ให้ความรู้และเอาเข้าแพลตฟอร์ม E-commerce ที่เป็นพาร์ตเนอร์อย่าง Lazada Malaysia ทำให้ตลาดE-commerce เติบโตสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.. เป็นการพลิกวิกฤติเป็นโอกาสที่ดีสำหรับประเทศไทย ที่ยังไม่ได้มีการดูแลใส่ใจร้านค้า, ธุรกิจตัวเล็กๆกลุ่มนี้เลย ..ซึ่งน่าจะช่วยขับเคลื่อน ตัวเลขเศรษฐกิจภายในประเทศได้อีกมาก
ลงชื่อเข้าใช้
ยินดีต้อนรับ! เข้าสู่ระบบบัญชีของคุณ
ลืมรหัสผ่านหรือไม่? ขอความช่วยเหลือ
กู้คืนรหัสผ่าน
กู้คืนรหัสผ่านของคุณ
รหัสผ่านจะถูกอีเมล์ถึงคุณ