จากกรณีที่นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ ประกาศเตรียมตัวจะว่ายน้ำข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยตัวเปล่า กางเกงในว่ายตัวเดียวในวันที่ 8 พ.ย.65 เพื่อหารายได้ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนทุกจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมนั้น
.
ล่าสุดดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ”ดร.ณัฎฐ์”ปรมาจารย์กฎหมายมหาชนและผู้เชี่ยวชาญรัฐธรรมนูญคนดัง ให้ความเห็นกรณี ส.ส.เต้ เตรียมทำกิจกรรมว่ายน้ำข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงกฎเหล็กกติกาเลือกตั้ง ส.ส.180 ก่อนวันเลือกตั้ง ส.ส. สามารถกระทำได้หรือไม่ ว่า การทำกิจกรรมว่ายน้ำข้ามแม่น้ำโขงที่ผ่านมาโครงการ “One Man and The River หนึ่งคนว่ายหลายคนให้” เพื่อระดมทุนหาเงินสนับสนุน 2 โรงพยาบาลฝั่งไทยและฝั่งลาวของ “โตโน่” ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ ดารานักแสดง กับเตรียมฟิตร่างกิจกรรมว่ายน้ำ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ของ ส.ส.เต้ มงคลกิตติ์ฯ เพื่อนำเงินบริจาคไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภายนำ้ท่วม นั้น มีความแตกต่างกัน คือ “โตโน่” ภาคินฯไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับทางการเมืองใดๆ และไม่ได้เล็งเห็นผลให้คนได้รับประโยชน์ทางการเมืองใดๆ ทั้งไม่เป็น
.
กรณีผู้ซึ่งจะประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ตามข้อ 5 (เพิ่มเติม ข้อ 18/1) ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 หากได้เทียบเคียงกับ ส.ส.เต้ มงคลกิตต์ฯ นั้น เป็นหัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ เมื่อสภาผู้แทนราษฎรครบวาระ ได้ประกาศเสนอตัวแก่ประชาชนทั่วไป เป็นซึ่งกรณีประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ตามระเบียบ กกต.ฯ ข้อ 18/1
.
จึงอยู่ในเกณฑ์ข้อบังคับของ กฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. คือ พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. กำกับควบคุมโดย กกต.ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 224 ,225 และตามกฎหมายเลือกตั้ง มาตรา 73 เป็นบทบัญญัติเด็ดขาด เป็นบทบังคับ กกต.ไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุมัติหรืออนุญาตได้ เพราะเป็นบทบัญญัติห้ามเด็ดขาด หากบุคคลใดฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา 158,159 มีโทษทางอาญาและตัดสิทธิ์ทางการเมือง 20 ปี หากเป็น กก.บห.พรรคการเมือง เป็นผู้กระทำผิดเอง ตามกฎหมายพรรคการเมืองมีโทษยุบพรรค
.
ส่วนตัวมองว่า การช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในเหตุอุทกภัยต่างๆนั้น ประชาชนเดือดร้อนต้องการขอความช่วยเหลือ เป็นหน้าที่ของรัฐบาลและ ส.ส.ต้องเข้าใจไปดูแลให้ทั่วถึง โดยปัจจุบัน กระทรวงมหาดไทยได้ปลดล็อกให้องค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น กทม. ,เมืองพัทยา,อบจ.,เทศบาล.,อบต. สามารถนำงบประมาณท้องถิ่นไปช่วยเหลือประชาชนได้ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี
เพราะประชาชนได้รับการช่วยเหลือหรือเยียวยาได้โดยพลัน ส่วนนักการเมืองระดับชาติ ส.ส. มาจากตัวแทนภาคประชาชน มีหน้าที่หลัก คือ ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนและเป็นปากเป็นเสียงแทน
.
ส่วนที่สื่อมวลชนถาม จะขยายเนื้อหาข้อกฎหมายให้ประชาชนผู้สนใจการเมือง คอการเมือง และแฟนคลับแต่ละฝ่าย ให้เข้าใจถึงกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.เพราะเป็นเรื่องใหม่ที่เขียนไว้ในกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. เชื่อว่า ผู้ปฎิบัติหรือนักการเมืองย่อมสับสนว่าสิ่งไหนทำได้ สิ่งไหนทำไม่ได้ ดังนี้
.
(1)มาตรา 68(1) กำหนดกรอบเวลา 180 วันนับแต่วันที่ 24 กันยายน 2565 ถึงก่อนวันเลือกตั้ง ส.ส. แต่มีข้อยกเว้นไว้ในมาตรา 68(2) กรณียุบสภาให้นับแต่วันที่ยุบสภา ยุบสภาวันไหนให้นับวันนั้นถึงก่อนวันเลือกตั้ง ปัจจุบันรัฐบาลไม่ได้ประกาศเป็นทางการว่า จะยุบสภาหรือไม่
(2)กฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.ห้ามผู้สมัคร แต่ในระเบียบ กกต.ห้ามถึงผู้ซึ่งประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งด้วยใน มาตรา 73 ห้ามจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าจะ”โดยตรง”หรือ”โดยอ้อม”แก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด สถานศึกษา สถานสงเคราะห์ หรือสถาบันอื่นใด
.
ผลทางกฎหมาย หากเป็นการกระทำทุจริตการเลือกตั้ง ตามมาตรา 73 นอกจากมีโทษทางอาญาและตัดสิทธิทางการเมือง 20 ปี แล้ว กกต.ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 225 ก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง อาจแจกใบส้ม ระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นการชั่วคราวไม่เกิน 1 ปี ตาม มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 224(4) ได้ คำสั่ง กกต.เป็นที่สุด ตามมาตรา 225 วรรคสอง ตัวอย่าง กรณีนายสุรพล เกียรติไชยากร ผู้สมัคร ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 8 เชียงใหม่ แม้ชนะในคดีแล้วไม่สามารถกลับมาเป็น ส.ส.ได้ เพราะ รัฐธรรมนูญให้อำนาจ กกต.ใช้อำนาจกึ่งตุลาการ เสร็จเด็ดขาดในองค์กร ทั้ง หากพบว่าผู้สมัครฯ ทุจริตการเลือกตั้งชัดแจ้ง ตามมาตรา 73 กกต.แจกใบแดง หรือใบดำ ตามพฤติการณ์ร้ายแรงแห่งคดี
.
ตามมาตรา 73(2) คำว่า “โดยตรง” หมายความถึง บริจาคด้วยตนเอง ส่วนคำว่า “ทางอ้อม “หมายความว่า ไม่ได้บริจาคเอง แต่มีพฤติการณ์หรือการกระทำ ส่วนหนึ่งส่วนใด เป็นเหตุจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมกันบริจาค ซึ่งกฎหมายบังคับเด็ดขาดว่า บริจาคให้แก่สาธารณกุศลหรือสถาบันใดๆ ไม่ได้ จะบริจาคเอง หรือรู้เห็นเป็นใจ สนับสนุนให้บริจาคก็ตาม เข้าใจง่ายๆ คือ ให้คนอื่นบริจาคแทน แต่ตนเองได้รับผลประโยชน์ทางอ้อมทางการเมือง ตัวอย่างเช่น สร้างคะแนนนิยม เพื่อเอาเปรียบผู้สมัครคนอื่นหรือพรรคการเมืองอื่น กฎหมายจึงห้ามเด็ดขาดทั้งโดยตรงและทางอ้อม เป็นต้น
.
ส่วน กรณี ส.ส.เต้ มงคลกิตติ์ ฯ ใช้เทคนิคหรือช่องว่างกฎหมาย คือ ให้ประชาชนบริจาคให้แก่สำนักนายกรัฐมนตรี หรือกู้ภัยต่างๆ หรือองค์กรอื่นใด โดยให้ผู้บริจาคโอนเงินบริจาคโอนตรงให้แก่หน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยกู้ภัย เป็นต้น โดยเทียบเคียงกับ ส.ส.ไปเป็นประธานงานกฐิน แต่ไม่ได้บริจาค เห็นว่า ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกต้ังสมาชิกสภาผผู้แทนราษฏร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2565 ข้อ 5 (18/1) และแนวทางการปฏิบัติและข้อควรระวังในช่วงระยะเวลาการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้สมัครและพรรคการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและหน่วยงานของรัฐ
.
ที่ กกต.ได้กำหนดแนวทางไว้ ในข้อ 1 (1.1) กรณีการระบุชื่อไว้เป็นประธานในงานกฐิน โดยผู้สมัครและ/หรือพรรคการเมืองไม่ได้มอบเงินหรือทรัพย์สินของตนเอง สามารถกระทำได้ แต่ทั้งนี้ เจ้าภาพงานจะประกาศชื่อ หมายเลขสมัครของผู้สมัครและ/หรือพรรคการเมืองในลักษณะช่วยผู้สมัครหรือพรรคการเมืองนั้นหาเสียงเลือกตั้งไม่ได้”ตามแนวทางที่ กกต.ได้กำหนดไว้ มีความแตกต่างในวิธีจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส.ในระหว่างประธานงานกฐิน กับกิจกรรมว่ายน้ำเจ้าพระยา เพราะ หากไม่ได้ดำเนินกิจกรรมดังกล่าว การบริจาคย่อมไม่เกิดขึ้น หมายความว่า การจูงใจประชาชนทั่วไปไม่เกิด
.
โดยเฉพาะตัว นายมงคลกิตติ์ฯ มีสองสถานะ คือ ส.ส.บัญรายชื่อและหัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ ดังนั้น การโพสต์ทางเฟสบุ๊กของ ส.ส.เต้ มงคลกิตต์ฯ เชิญชวนทำกิจกรรมให้ประชาชนร่วมกันบริจาค ตั้งเป้าไว้ 300 ล้าน แม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการบริจาคของประชาชน และตนเองไม่ได้บริจาค เป็นการสร้างคะแนนนิยมให้กับตนเองและพรรคการเมืองของตนเอง การเชื้อเชิญให้ประชาชนร่วมกันบริจาคให้แก่หน่วยงานหรือองค์กรสาธารณกุศลใดๆ ซึ่งเป็นการกระทำโดยทางอ้อม จูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งผิดกฎหมายเลือกตั้ง มาตรา 73(2) ทั้งสิ้น
.
แม้จะอ้างว่า อยู่ระหว่างขออนุญาต กกต. แต่เล็งเห็นได้ว่า เป็นบทบัญญัติห้ามเด็ดขาด ประกอบกับ ซึ่งอยู่ในช่วง 180 วัน นับแค่วันที่ 24 กันยายน เป็นต้นไปจนถึงวันก่อนวันเลือกตั้ง การสร้างคะแนนนิยมให้กับตนเองหรือพรรคการเมืองของตนเองโดยทางอ้อม เป็นการจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งเอาเปรียบผู้สมัครหรือพรรคการเมืองอื่น ตรงนี้ พูดกันในข้อกฎหมาย คือ ไม่สามารถกระทำได้ สุ่มเสี่ยงผิดกฎหมายเลือกตั้ง
.
ดร.ณัฐวุฒิ ระบุว่า กิจกรรมว่ายน้ำข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ถือเป็นการจูงใจอย่างหนึ่ง ให้ประชาชนร่วมกันบริจาคเพื่อหวังผลทางการเมือง ปั่นกระแสให้แก่ตนเอง เพราะหาก ส.ส.เต้ มงคลกิตติ์ฯ จะทำกิจกรรมดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนบริจาค ตั้งข้อสังเกตว่า นับตั้งแต่ กกต.ประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส.ในปี 2562 ถึงวันที่ 23 กันยายน 2565 ระยะเวลาเกือบ 4 ปี เหตุใดถึง ส.ส.เต้ มงคลกิตติ์ฯ ถึงไม่ระดมทุนช่วยเหลือประชาชนในช่วงเวลาดังกล่าวสามารถเล็งเห็นได้ว่า ฤดูน้ำหลาก มีโอกาสน้ำท่วมทุกปีมพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ
.