เปิดต้นแบบเมืองอัจฉริยะที่บ้านฉาง!!บอกคำเดียวไม่ธรรมดา ดึง 5G ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

0
753

ดร.อบรม อรัญพฤกษ์ คณะทำงานดำเนินการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเวลเนสอีอีซี (EEC Wellness Corridor)
ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดระยอง โพสต์ข้อความในหัวข้อ“ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ บ้านฉางกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต” โดยระบุว่า “เมื่อนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตำบลบ้านฉางให้กลายเป็น ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ ในอนาคต”
.
อำเภอบ้านฉาง มีพื้นที่ 238.4 ตารางกิโลเมตร เนื้อที่ 149,000 ไร่ จุดเปลี่ยนสำคัญ เมื่อบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติวางโครงข่าย 5G รองรับคลื่นสัญญาณ high band ความถี่ 26 GHZ ตามที่ได้รับการจัดสรรจาก กสทช. โดยดำเนินการติดตั้งท่อ เสา สายส่งสัญญาณไฟเบอร์ออปติกบริเวณฐานทัพเรือสัตหีบ, สนามบินอู่ตะเภา, อำเภอบ้านฉาง ไปจนถึงมาบตาพุดคอมเพล็กซ์
.
ข้อดีของระบบ 5G จะส่งผลให้สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องมือต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า “internet of things: IoT” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ ทั้งภาพ เสียงและข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทาง สกพอ.ทุ่ม 400 ล้าน เร่งตั้งเสาอัจฉริยะ 160 ต้น เชื่อม “big data” ชุมชน-หน่วยงานรัฐ ประมวลผลข้อมูลเรียลไทม์ ตั้งเป้ายกระดับคุณภาพชีวิต-ความปลอดภัย–บริการสาธารณสุข เดินหน้าเข้าสู่ smart city แห่งแรกของเมืองไทย
.
ที่บ้านฉาง เรามาทำความรู้จัก กับ เสาอัจฉริยะ 5G” (5G Smart Pole)

  1. ด้านบนสุดของหัวเสาอัจฉริยะจะติดตั้งระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ โดยใช้พลังงานหมุนเวียนจากแสงอาทิตย์และพลังงานลม
  2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากโครงข่าย 5G และอุปกรณ์กระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ฟรีไวไฟ
  3. เสาอัจฉริยะแต่ละต้นจะติดตั้งกล้องวรจรปิด 3-4 ตัว ออนไลน์ข้อมูลภาพ
    ทิศทาง ผ่านระบบ 5G เข้ามาที่ศูนย์ข้อมูล Intelligence Operation Center
  4. ติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์
  5. ติดตั้งกล้องวงจรปิดมุมต่ำในรูปแบบของวิดีโอคอล S.O.S รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน เพื่อจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปให้ความช่วยเหลือได้ทันเวลา
    .
    เมื่อมีการพูดถึงกันมาก เพื่อการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเมืองใหญ่ เมืองอุตสาหกรรม หรือปัญหาที่มาจากการเผาในภาคเกษตรกรรม
    .
    วันนี้ จึงขอพูดถึง คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นภายใต้ อากาศสะอาด” หรือระบบการทำงาน สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ: โซลูชันอัจฉริยะสำหรับสิ่งแวดล้อมประกอบด้วยระบบอัจฉริยะสำหรับจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม การชลประทาน ของเสีย เซลล์แสงอาทิตย์ แสงสว่าง สถานีตรวจอากาศ และแหล่งน้ำ  มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและคุณภาพของสิ่งแวดล้อมในเมืองต่าง ๆ ให้ดีขึ้น
    .
    ย้อนกลับไป เมื่อ 13 ปีที่แล้ว จนมาถึงวันนี้ พื้นที่ตำบลบ้านฉาง ทั้งตำบล ถูกประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ  วันนี้ประเด็น การวัดคุณภาพอากาศ ผ่านระบบเซนเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ กำลังถูกพูดถึงในวงกว้างและผมภาวนาให้ถูกขับเคลื่อนในระดับนโยบายไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพมหานครหรือระดับประเทศเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริง
    .
    ทั้งนี้แนวทางการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ตลอดจนมลพิษอื่น ๆ เช่น SO2 NO2 CO2 และ VOC ในพื้นที่ตำบลบ้านฉาง หรือในพื้นที่ที่มีปัญหาอื่น ๆ ในประเทศไทย ต้องติดตั้งเซ็นเซอร์ให้สอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่นั้นๆ ยกตัวอย่างในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ (Smart Seoul Data of Things) เป็นเซ็นเซอร์วัดฝุ่นอย่างละเอียดรวมถึงค่ามลพิษและค่าอื่น ๆ ที่จำเป็นถึง 17 ชนิด
    .
    ในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ ต้องอาศัยองค์ประกอบ 4 อย่าง ได้แก่
  6. ข้อมูล (Database) ที่มากเพียงพอทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ
  7. หน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึกและสื่อสารข้อมูลออกไป
  8. การออกนโยบายเพื่อนำไปสู่การมีส่วนร่วมของทุกคน และการสร้างความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ในการช่วยกันดูแลตักเตือน 
      
    อย่างไรก็ตามมีหลากหลายโครงการที่กำลังทำเรื่องนี้ ในประเทศไทย เช่น
  9. การเฝ้าระวังและติดตามคุณภาพอากาศด้วยเครื่องวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และ PM10 แบบเซนเซอร์ (Dust Boy) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  10. โครงการ Sensor for All สำหรับติดตามข้อมูลด้านคุณภาพอากาศ และปริมาณฝุ่น PM2.5 มาอย่างต่อเนื่องกว่า 3 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  11. NT จัดทำศูนย์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ติดตั้งสถานีตรวจวัดฝุ่น PM 8,000 แห่งกว่า 5,000 ตำบล เพื่อเตือนภัยประชาชน พร้อมเปิดโอกาสให้หน่วยงานใช้ประโยชน์ข้อมูลฟรี กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
    4.  ดีป้า จับมือ เอไอเอส ติดตั้งเซนเซอร์วัดฝุ่น PM 2.5 นำร่อง 3 จังหวัดอีอีซี ต่อยอด NB-IoT ส่งรายงานค่าฝุ่นแบบเรียลไทม์ผ่าน แอปฯ “depa PM 2.5”
  12. กรมควบคุมมลพิษ
    .
    หลังจากที่จากที่ดูข้อมูลอ้างอิงจากที่ต่าง ๆ แล้วพบว่า เรายังขาดการบูรณาการในการทำงานร่วมกัน สิ่งที่ควรปรับปรุงและทำให้เกิดประโยชน์ในเชิงพื้นทีจริง ๆ ได้แก่
  13. ต้องกำหนด ตัวมาตรฐาน ระบบเซนเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ ให้ครอบคลุมชนิดของมลพิษในแต่ละพื้นที่ (โดยเฉพาะในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษ ต.บ้านฉาง)
  14. ด้านปริมาณและคุณภาพของข้อมูลที่ได้มา ต้องครอบคลุมพื้นที่ ทุกทิศทาง
  15. ใช้ Application ในการมีส่วนร่วมของทุกคน และการสร้างความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ในการช่วยกันดูแลตักเตือน
  16. เปรียบเทียบ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์ ระหว่าง สุขภาพของคนในชุมชนและประเด็นปัญหามลพิษที่เกินมาตรฐานในแต่ละชนิด
  17. ใช้ Platform เก็บข้อมูลเพื่อใช้ AI ในการวิเคราะห์สำหรับสุขภาพ กับปริมาณของมลพิษที่เกินค่ามาตรฐานในแต่ละพื้นที่
    .
    วันนี้ ถ้าเราจะทำเรื่องนี้ ให้สำเร็จ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายต้องมานั่งคุยกัน เพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมประเทศของเราให้เกิดความยั่งยืน ผมว่าไม่เกินความสามารถคนไทยครับ
    .

ThePOINT #ข่าวการเมือง #อบรมอรัญพฤกษ์ #EEC #เมืองต้นแบบ #5G #เมืองอัจฉริยะ