หน้าแรกการเมือง'ไอติม' ขอเจียด 10% ของ 'ดิจิทัลวอลเล็ต' มาเพิ่มทักษะการศึกษาฉบับก้าวไกล "หวังว่าจะไม่เป็นการขอที่มากจนเกินไป"

‘ไอติม’ ขอเจียด 10% ของ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ มาเพิ่มทักษะการศึกษาฉบับก้าวไกล “หวังว่าจะไม่เป็นการขอที่มากจนเกินไป”

เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2567 นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 ว่าการที่จะรู้ว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรให้ดูที่การลงทุนให้งบประมาณนั้นๆ ในการพัฒนา เท่าที่ดูในงบประมาณโครงการ 5,631 โครการในงบประมาณปี 2568 นั้นค้นพบว่ารัฐบาลจัดสรรงบสำหรับการศึกษา เรียนรู้ การยกระดับทักษะช่วงวัยอยู่ที่ 510,000 ล้านบาท กระจายไป 14 กระทรวง และช่วงวัยคือตั้งแต่เราเกิดจนเราแก่ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นทักษะพัฒนาในทั้งเด็ก และผู้สูงอายุก็จะเจอปัญหาเหมือนกัน 3 เรื่อง ดังนี้ 1.งบเรียนรู้ที่ไม่เรียนรู้ เป็นการลงทุนงบไปกับชื่อ วัตถุประสงค์ที่ฟังดูดี แต่ถ้าไปดูไส้ในเป็นกิจกรรมที่ไม่น่าจะเป็นการส่งเริมหรือยกระดับได้จริง 2.งบต่างคนต่างทำ เป็นลักษณะที่หน่วยงานภาครัฐทำงานซ้ำซ้อนกัน จนไม่รู้ว่าชื่อโครงการนั้นๆเป็นหน่วยงานไหนกันแน่ที่รัฐผิดชอบ และ 3.งบคนเรียนไม่ได้เลือกอกคนเลือกไม่ได้เรียน เป็นการที่กระทรวงคิดแทนโรงเรียน เพราะเรามีทั้งกระทรวงที่คิดแทนโรงเรียนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมีรัฐที่คิดแทนตลาดในการยกระดับทักษะแรงงาน ฉะนั้นการศึกษาเราจะตัดเสื้อให้เข้ากับเด็กแต่ละคนที่มีความชอบ ความถนัดไม่เหมือนกันไม่ได้เลย ตราบใดที่โรงเรียนหรือสถานศึกาษาที่มีความใกล้ชิดกับผู้เรียนยังไม่มีอำนาจในการตัดสินใจว่างบประมาณที่ใช้ในโรงเรียนของเขานั้นจะใช้ไปกับอะไร เพราะที่สังเกตเห็นคือเมื่อให้กับโรงเรียนก็จะเป็นการแบบ 5 ก้อน ซึ่งเป็นการสร้างข้อจำกัดของการใช้งบเป็นอย่างมาก

นายพริษฐ์ อภิปรายว่า หากเราอยากจัดงบการเรียนรู้ให้ตอบโจทย์ เราปรับเล็กไม่ได้ เราต้องเปลี่ยนใหญ่ เรียกว่า ตัวเปลี่ยนเกมทั้ง 3 ตัว คือ ตัวเปลี่ยนเกมที่ 1 อัดฉีดงบนี้ให้ท้องถิ่นดูแลเด็ก 1,000 วันแรก เข้าใจว่าจะให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบนั้นก็เป็นไปได้ยาก แต่จะดีไหมถ้าให้ท้องถิ่นมาดูแลตรงนี้ด้วยการปลดล็อกและสนับสนุนงบให้ท้องถิ่นสามารถมารับภารกิจดูแลเด็กในช่วง 1,000 วันแรกได้ โดยได้รับการสนับสนุนจากส่วนกลาง และในเชิงงบประมาณจำเป็นต้องอัดฉีดอย่างน้อย 2 หมื่นล้านบาท เพื่อสนับสนุนขยายวันเวลาเปิด เพื่อให้ศูนย์เด็กเล็กที่มีอยู่แล้วเปิดถึงเย็นได้ และขยายช่วงอายุเด็กที่ส่วนกลางสามารถอุดหนุนงบกับท้องถิ่นได้ โดยรวมเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีได้ด้วย ส่วนตัวเปลี่ยนเกมที่ 2 ในวัยเรียน คือการระเบิดงบประมาณการศึกษาขั้นพื้นฐานกระจายให้โรงเรียน ครู นักเรียน เราเชื่อว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงนัยยะสำคัญได้ หากเราแก้เรื่องประสิทธิภาพในการจัดสรรงบที่มีอยู่แล้ว และเพื่อให้งบถึงมือโรงเรียนจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการจัดสรรงบ คือ ในส่วนของเงินอุดหนุนการจัดการศึกษา กระทรวงควรเปลี่ยนวิธีการส่งงบไปที่โรงเรียนที่จากปัจจุบันที่แบ่งเป็น 5 ก้อน แยกออกจากกัน เป็นการส่งเป็นก้อนเดียวไม่ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อให้โรงเรียนไปตัดสินใจเองว่าจะบริหารจัดการอย่างไร และในส่วนของงบลงทุน ที่ปีนี้อยู่ที่กว่า 8 พันล้านบาท เสนอว่ากระทรวงควรหยุดคิดแทนโรงเรียนว่าจะลงทุนด้านไหน โรงเรียนไหนที่พร้อมและมีความต้องการก็จัดสรรงบเป็นก้อน ให้โรงเรียนตัดสินใจกันเอง และเพื่อให้งบถึงมือคุณครู ตนเองเสนอว่าต้องระเบิดโดยให้คูปองแล้วไปคิดเองว่า จะพัฒนาทักษะด้านไหนให้ตอบโจทย์ห้องเรียน และเพื่อให้ถึงมือโรงเรียนควรจะมีงบส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนบางโครงการ เพื่อแปลงเป็นคูปองเปิดโลกที่สามารถเลือกเองได้

นายพริษฐ์ กล่าวอีกว่า ตัวเปลี่ยนเกมที่ 3 ลงทุนในเมกะโปรเจ็กต์เพิ่มทักษะ โดยการเพิ่มจากปัจจุบันเป็น 5 หมื่นล้านบาท โดยจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการลงทุนจากเบี้ยหัวแตก เป็นการลงทุนแบบบาซูก้ารวมทรัพยากรอัดฉีดและดึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาทำงานด้วยกัน และจากที่รัฐคิดแทนตลาดอุดหนุนให้ผู้เรียน เป็นผู้เรียนสามารถเลือกเองได้ ฉะนั้น ยืนยันว่ารัฐสามารถทำได้ และถ้าท่านกังวลว่าเราจะหางบบประมาณมาจากไหน ได้ยินว่าปีนี้มีโครงการที่น่าจะใช้งบประมาณมากกว่าที่พูดถึง 10 เท่า ด้วยเหตุผลที่ต้องกระตุ้นเศรษฐกิจเฉพาะหน้า หวังว่าถ้าจะขอใช้งบประมาณ 10% ของมูลค่าโครงการนั้น เพื่อมาใช้ในการยกระดับทักษะของคนทุกช่วงวัย หวังว่าจะไม่เป็นการขอที่มากจนเกินไป

Thepoint #Newsthepoint

ก้าวไกล #เพื่อไทย #ดิจิทัลวอลเล็ต

Must Read

Related News

- Advertisement -