ชำแหละ!!10ข้อ’vote เชิงยุทธศาสตร์’ศึกเลือกตั้งผู้ว่าฯ ชี้ขั้วการเมืองแบบในอดีตไม่มีผลแล้ว

0
230

รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อาจารย์คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และอดีตประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) โพสต์เฟซบุ๊กระบุข้อความว่า การ vote เชิงยุทธศาสตร์

1 มีรากฐานจากความคิดทางการเมืองแบบแบ่งขั้ว

2 ในการแข่งขัน มีขั้วใดขั้วหนึ่ง ที่มีผู้สมัครหลายคน

3 คะแนนนิยมของคู่แข่งขั้วตรงข้าม สูงกว่าผู้สมัครทุกคนของขั้วตนเอง

4 ระหว่างการรณรงค์เลือกตั้ง คะแนนฝ่ายตนเองแตกกระจาย หมดหนทางเอาชนะคู่แข่ง

5 เกิดความหวาดกลัวความพ่ายแพ้ ผู้นำทางความคิดของขั้วที่เป็นรอง ออกมาเรียกร้องให้ผู้เลือกตั้งขั้วตนเอง ยกเลิกเจตจำนงอิสระในการเลือกของตนเอง และเทคะแนนให้ผู้สมัครคนใดคนหนึ่งในขั้วนั้น ทั้งที่ผู้เลือกตั้งอาจไม่ชอบผู้สมัครที่เป็นตัวแทนของขั้วที่ตนสังกัดก็ตาม แค่จำใจเลือกเพื่อกันผู้สมัครขั้วตรงข้าม

6 การโหวตเชิงยุทธศาสตร์ที่ประสิทธิผล หากความเข้มข้นของความเป็นขั้วการเมืองมีสูง และปริมาณรวมของผู้เลือกตั้งของขั้วที่รองมีมากกว่าขั้วที่กำลังนำ

7 แต่ไม่มีประสิทธิผล หากความเป็นขั้วของการเมืองเจิอจาง เพราะผู้เลือกจะไม่ยอมละทิ้งเจตจำนงเสรีของตนเอง

8 และไม่มีประสิทธิผลอย่างสิ้นเชิง หากปริมาณของผู้เลือกตั้งรวมของขั้วรองมีน้อยกว่าขั้วที่กำลังนำ แม้ว่าจะประสบความสำเร็จในการรณรงค์ให้ประชาชนขั้วตนเองละทิ้งเจตจำนงเสรีของตนเองแล้วก็ตาม

9 สถานการณ์การเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ความเป็นขั้วการเมืองแบบในอดีตเจือจางลง แม้กลุ่มความคิดสุดโต่งของแต่ละฝ่ายพยายามรื้อฟื้น แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

10 ความเป็นจริงอีกอย่างคือ ในปัจจุบันความคิดทางการเมืองของคนกรุงเทพฯมีความหลากหลายมากขึ้น และประชาชนจำนวนไม่น้อยของกรุงเทพแยกการเลือกตั้งผู้ว่า ออกจากการเมืองระดับชาติ ดั้งนั้นในการเลือกตั้งผู้ว่า จึงมีการพิจารณาคุณสมบัติและนโยบายของตัวผู้สมัครมากกว่าความเชื่อแบบขั้วการเมืองที่ยังดำรงอยู่ในระดับชาติ
.
#ThePOINT #ข่าวการเมือง #พิชายรัตนดิลก #ผู้สมัครผู้ว่า #ผู้ว่ากทม #เลือกตั้ง