เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2568 จากกรณี พรรคประชาชน ได้จัดกิจกรรมชวนชาวกรุงเทพฯ มาส่องงบประมาณ กทม. 2569 โดย ในส่วนของเขต บางบอน จอมทอง หนองแขม ไอซ์-รักชนก ศรีนอก และ เติ้ล วรภพ วิริยะโรจน์ ได้จัดงานที่ ร้านกาแฟดำ ซอยร่มไทร บางบอน 3
โดย นางสาวรักชนก ได้โพสต์สรุปการจัดกิจกรรมไว้ในเฟซบุ๊ก ระบุว่า
“ผลประกอบการ งานแงะงบ กทม. เมื่อวาน
เวลาสั้นๆ ประมาณ 5 ชม. เราได้อะไรบ้าง
ข้อสังเกตทั้งหมดนี้ จากประชาชนที่มาร่วมงานล้วนๆ
1) เขตบางบอน (และเขตอื่นๆด้วย) ตั้งเป้าหมายปฏิบัติงาน/ตัวชี้วัด ไม่สอดคล้องกับเป้าหมายของนโยบายผู้ว่า เช่น อย่างการแยกขยะ ตั้งเป้าตัวชี้วัด 28% ซึ่งไม่สอดคล้องกับเป้าหมายของ กทม.ที่ต้องการให้แยก 80%
อุปกรณ์หลายๆอย่างก็ยังซื้อแพง เช่น ไมโครโฟนยี่ห้อ BOSCH รุ่น CCSD-DL ไม่มีมอก. ราคาตัวละ 21,500 บาท (ราคาที่พบในตลาด 15,XXX บาท) , ชุดเครื่องเล่นสนามกลางแจ้ง (ชุดขนาดไม่น้อยกว่า 200x400x300) ราคา 176,000 บาท (ราคาที่พบในตลาด ~50,000 บาท) พัดลมสนามในร่ม ขนาด 1.5 เมตร ราคา 39,000 บาท (ราคาที่พบในตลาด 16,000 บาท)
2) การใช้งบประมาณเขตหนองแขม ทั้ง งบดำเนินการ, งบลงทุนและก่อสร้าง, งบค่าใช้จ่ายอื่นๆ
มีข้อสังเกตคล้ายกันทั้ง
-ใบเสนอราคาที่ใช้เปรียบเทียบราคา มีเพียง 3 – 4 บริษัท เสนอซ้ำๆ กันเข้ามาในหลายโครงการ
– แบบฟอร์มที่บริษัทใช้เสนอราคาเหมือนกัน เหมือนกับ copy กันมาแล้วเปลี่ยนตัวเลข
– ร้านค้าที่เข้าประมูลอยู่ใกล้ๆกัน เมื่อทีมงานของพรรคไปตรวจสอบตามที่อยู่กลับไม่มีตัวตน
– ร้านค้าที่นำเสนอทั้ง 3 ร้าน สามารถขายได้เกือบทุกอย่าง ซึ่งเป็นไปได้หรือไม่ ที่ร้านค้าหนึ่งร้านค้าขายได้ตั้งแต่ของร้านโชห่วย ถึง ดอกไม้ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
– ราคาต่อหน่วยค่อนข้างสูง
– มีการบวกค่า F factor 30-35% ตั้งข้อสังเกตรวมกลับการตั้งราคากลางของสิ่งของก่อสร้างที่สูงอยู่แล้ว มาเจอค่าแฟคเตอร์เอฟ จึงยิ่งแพงมากขึ้น
– ข้อสังเกตด้านใบเสนอราคา ร้านค้าที่มีแบบฟอร์ม แพทเทิร์นเดียวกัน ร้านค้าไม่จดทะเบียน (หนีภาษี?) ที่ตั้งร้านค้ามีความน่าสงสัย
3) ค่านิตยภัต
เขตหนองแขม มีค่านิตยภัต 2.4 ล้าน
เขตบางขุนเทียน 4.5ล้าน
เขตราษบูรฯ 2.4ล้าน
เขตจอมทอง 2.8ล้าน
เขตบางบอน 2.24ล้าน
และยังไม่นับที่ขอตามกรมศาสนา มีหลายเขตที่ขอเข้ามา ตั้งแต่หลักแสนไปจนถึงหลักล้าน
note : ค่านิตยภัต ปกติให้ตามสมณศักดิ์พระ เหมือนเงินเดือน
สำนักพุทธ ขอให้ทุกปีงบประมาณ
5) รายการส่วนใหญ่ในหลายเขต เขียนว่าไม่มียี่ห้อ หรือ ม.อ.ก. เป็นสินค้าไม่มีมาตรฐาน? รัฐซื้อได้หรือไม่? , ไม่มียี่ห้อ อาจเป็นช่องโหว่ในการออกใบเสร็จที่ยืดหยุ่น อาจมีการโกงค่าใบเสร็จได้ง่าย
6) สำนักวัฒนธรรมฯ
– ประตูห้องสมุดราคากลาง 400,xxx ม.เกษตร ซื้อ 310,000 ??
– จ้างที่ปรึกษาด้านสถาปัตยกรรม 15 ล้าน แต่ไม่ระบุว่าให้งานมากน้อยแค่ไหน ระบุแค่ให้ทำ 11 เดือน ตามที่มอบหมาย
– ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวทางออนไลน์ 5.7 ล้าน ให้เผยแพร่ผ่านช่องทางที่มีผู้ติดตามไม่ต่ำกว่าแสน แต่กำหนดยอด reach ทุกอย่างรวมกันแค่ 5 หมื่น??
– วันเด็กของทั้ง กทม ตั้งงบมาเพียง 2 ล้าน ตั้งเป้าเข้าถึงเด็ก 5,000 แต่สำหรับครอบครัวข้าราชบริพารมีการตั้งงบงานวันเด็กสำหรับ 10,000 คน ตั้งงบประมาณ 2.75 ล้าน จัดงบอย่างเป็นธรรมหรือไม่
– โครงการ Scuba Diving เปิดโลกให้คน กทม 5 แสน 7 เพื่อ?
– โครงการย่านสร้างสรรค์ แก้ปัญหาเรื่องการเบิกจ่ายผ่าน สนง.เขต ไปยังผู้ได้รับทุนได้หรือยัง
– ทำสื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวแบบสิ่งพิมพ์และ E-book ที่ต้องเซฟใส่สื่ออีก 5.2 ล้าน ซ้ำซ้อนกับโครงการด้านบนมั้ย และมีประโยชน์จริงๆหรือไม่
– โครงการพัฒนาป้ายสื่อความหมายแหล่งท่องเที่ยง 10 ล้าน แต่งานผลิตป้าย ป้ายละ 23,000 ไม่มีรายละเอียดชัดเจนว่าทำอะไร อย่างไร
– กิจกรรมประกวดร้องเพลง 2 ล้าน เป็นค่าสถานที่และแสดงเสียงรอบชิงอย่างเดียวไปแล้ว 750,000
– งานสงกรานต์ 5 ล้าน ไม่มีรายละเอียดอะไรเลย
– เทศกาลเด็กและเยาวชน ในโครงการสภาเมืองคนรุ่นใหม่? 1.46 ล้าน แต่ไม่มีรายละเอียดอะไรเลย
– ระบบห้องสมุดออนไลน์ที่เป็นระบบเช่าใช้งานได้แค่ 1 ปี 2.5 ล้านบาท แล้วระยะยาวยังไงต่อ?
7) ชุดอุปกรณ์อัจฉริยะ Interactive Board พร้อมชุดโปรแกรมและอุปกรณ์ประกอบ
ประกอบด้วยอุปกรณ์ เช่น Interactive LED Display 75″ ACER , Notebook , ขาตั้ง Razr T1030 , เครื่องเสียง Razr MA-80U , ลำโพง Razr SW-302B , ไมค์ , เครื่องสำรองไฟ Advice 1.5 KVA
มีหลายเขต ของบมาเช่น ปทุมวัน ยานนาวา ดุสิต หัวยขวาง พระขโขนง บางกะปิ บางเขน ลาดกระบัง ธนบุรี ดอนเมือง บางบอน บางแค คันนายา
โครงการที่คล้ายๆกันนี้ งบรวมทั้งหมดทุกเขตที่รวมได้ ประมาณ 58.3ล้าน แต่หาของจากราคาตลาด จะอยู่ที่ประมาณ 28ล้าน เท่านั้น มีใครร่อนแคตตาลอตไปตามเขต ให้ตั้งงบประมาณซื้อของประเภทเดียวกันนี้หรือไม่ ?
8 ) เขตจอมทอง
– โครงการจัดงานวันสำคัญอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณี ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ไวนิล (ขนาด 11 x 5 เมตร x 200 บาท) จำนวน 3 ป้าย รวม 33000 แอบสูง
– ปรับปรุงทางเท้าและผิวทางซอยพระรามที่ 2 ซอย 28: 27,291,000 บาท ดีที่จะปรับปรุบทางเท้า แต่ราคาสูงเกินไปหรือไม่
– งานบริหารทั่วไป และสอบสวนดำเนินคดี ซื้อ
รถจักรยานยนต์ ขนาด 150 ซีซี: 163,800 บาท (2 คัน)
รถจักรยานยนต์ ขนาด 120 ซีซี: 180,300 บาท (3 คัน)
สำหรับงานบริหารทั่วไปและการคลัง:
ประมาณ 81,900 บาทต่อคัน สำหรับ 150 ซีซี
ประมาณ 60,100 บาทต่อคัน สำหรับ 120 ซีซี
9) สำนักการแพทย์
– บางโรงพยาบาลมี 3 รายการที่มีราคาประมูลเท่ากันหมดทั้ง 3 เจ้า เช่น โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์
– บางโรงพยาบาลหรือส่วนงานมีหลายรายการที่มีราคาประมูลเท่ากัน 2 เจ้า เช่น โรงพยาบาลกลาง บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
– ใบเสนอราคาบางเจ้าไม่มีเลขที่กำกับผู้เสียภาษี เช่น บริษัทเกทเวย์ เฮลท์แคร์ จำกัด (ของโรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์)
– ใบเสนอราคาบางเจ้า เช่น บริษัทเกทเวย์ เฮลท์แคร์ จำกัด (ของโรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์) ดูมีการตัดแปะไม่สมกับการเสนอราคาประมูลผลิตภัณฑ์ที่มีราคารวมสูงถึง 3.3 ล้าน
– ใบเสนอราคาบางเจ้าไม่มีวันที่เสนอราคากำกับไว้ เช่น SMD Rise Public Co., Ltd และ E for L Aim Public Company Limited (ของโรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์)
– ใบเสนอราคาจำนวนมากระบุวันที่เสนอราคาปี 2567 และมีการระบุว่าจะยืนราคาดังกล่างจนถึงปีงบประมาณ 2569
– มีบางรายการที่เจ้าหนึ่งให้ราคาประมูลที่ถูกกว่าอีก 2 เจ้าอย่างมีนัยสำคัญ (25%-30%) เช่น กรณีเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติของบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน หรือกรณีเครื่องตรวจวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจของโรงพยาบาลกลาง
ปล1 หลังจากนี้ไอซ์และทีมงาน จะรวบรวมข้อสังเกตทั้งหมดที่เจอในงานให้กับ ส.ก. ของพรรคประชาชน ได้ไปอภิปรายในสภากรุงเทพกันต่อ อันไหนไม่สมเหตุสมผลเสนอให้ตัดออก อย่าเอาไว้
ปล2 วันนี้มีสมาชิกหน้าใหม่ที่เราไม่เคยเจอกันในงานไหนเลย เกิน 50% ดีใจมาก
_____________
#Thepoint #Newsthepoint
#งบกทม #ผู้ว่ากทม #ไอซ์รักชนกศรีนอก
#ชัชชาติ