ฟังชัดๆ”หมอยง”แจงปมวัคซีนโควิด-19กับยาคุมในเพศหญิง

0
739


.
วันที่ 31 พ.ค. ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ. หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้าน ไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความระบุว่า โควิด-19 วัคซีน เรื่องของฮอร์โมนเพศหญิง ยาคุมกำเนิด สตรีตั้งครรภ์ ข้อมูลที่ให้ จะตามหลักวิชาการ รายละเอียดต่างๆ คงต้องรอราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ และกระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงให้คำแนะนำ
.
ในเพศหญิงที่มีฮอร์โมนเพศหญิง หรือในยาคุมกำเนิด และในสตรีตั้งครรภ์ จะมีฮอร์โมนเพศหญิงสูงอยู่แล้ว และเป็นที่ทราบดีว่า เป็นปัจจัยหนึ่งทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือด ในเส้นเลือดดำใหญ่ได้ (deep vein thrombosis, DVT)
.
อุบัติการณ์ดังกล่าวในคนเอเชีย เกิดได้น้อยกว่าฝรั่ง และชาวแอฟริกาอย่างมาก เวลาเรานั่งเครื่องบินท่านั่งอยู่กับที่นานๆ จะมีการแนะนำให้ขยับเท้าเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ เพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือด แล้วเกิดลิ่มเลือด คนไทยเราไม่ค่อยเคยเห็น แต่ในฝรั่งเกิดได้บ่อยกว่า
.
การแข็งตัวของเลือดที่เส้นเลือดดำใหญ่ DVTหรือ มีการพูดถึงฮอร์โมนเพศหญิง ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับ มีส่วนเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน ไม่เหมือนกันการเกิดลิ่มเลือด ที่พบในวัคซีน virus vector เช่น AStraZeneca, Johnson &Johnson ซึ่งการแข็งตัวเกิดลิ่มเลือดนั้นจะมี “ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ” ด้วย ที่เรียกกันว่า VITT เป็นคนละโรคกัน และการรักษาก็ต่างกันกับการรักษาในผู้ป่วยที่มีการแข็งตัวของเลือดที่เส้นเลือดดำใหญ่ DVT เพราะเหตุที่เกิดไม่เหมือนกัน
.
วัคซีน Sinovac เป็นเชื้อตาย คล้ายกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ พิษสุนัขบ้า ตับอักเสบ เอ ที่เป็นเชื้อตายเช่นกัน รวมทั้งวัคซีนบาดทะยักก็เช่นเดียวกัน เป็นวัคซีนที่ใช้กันมานานมาก
.
การฉีดวัคซีนต่างๆก็ไม่มีวัคซีนตัวไหน ที่แนะนำให้หยุดยาคุมกำเนิด รวมทั้งวัคซีน covid 19 ในปัจจุบัน ที่ฉีดไปแล้วทั่วโลกเกือบ 1,800 ล้าน dose ที่ผ่านมา ก็ไม่ได้มีการแนะนำให้หยุดยาคุมกำเนิดก่อนฉีดวัคซีน ชีวิตทุกอย่างต้องดำเนินไปอย่างปกติมากที่สุด ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
.
อย่างไรก็ตามข้อมูลทั้งหมดคงต้องให้ทางราชวิทยาลัยสูติศาสตร์นรีเวชกรรม และกระทรวงสาธารณสุข ออกมาเป็นข้อแนะนำ จะดีที่สุด
.

ThePOINT #ยงภู่วรวรรณ #จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย #โควิด-19 #วัคซีน #ข่าวสังคม