เปิดที่มา!!รายงานไฟแนนเชียลไทม์ส ที่ทำ’บิ๊กตู่’ปลื้ม หลังยก’เงินบาท’สกุลเงินมีเสถียรภาพ-ยืดหยุ่นมากที่สุดในโลก

0
463

ไฟแนนเชียลไทม์สรายงาน เมื่อวันที่ 12 ก.พ.ที่ผ่านมา ถึงสกุลเงินบาทไทย (THB) แสดงความชื่นชมว่าเป็นสกุลเงินที่มีความยืดหยุ่นมากที่สุดในโลกโดยเปรียบเทียบกับสกุลเงินรูเปียห์อินโดนีเซีย (IDR) โดยกล่าวไปถึงเมื่อครั้งเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 1997 ซึ่งเกิดจากไทย และลุกลามกลายเป็นโดมิโนไปทั่วทั้งภูมิภาค ซึ่งผู้เขียนคือ รูชีร์ ชาร์มา (Rushir Sharma) นอกจากจะเป็นนักลงทุนและนักเขียนบทความทางเศรษฐกิจชื่อดังแล้ว เขายังดำรงตำแหน่งประธานร็อคกีเฟลเลอร์ แคปพิทอล แมเนจเมนท์ (Rockefeller Capital Management) ที่เชี่ยวชาญทางสกุลเงินมายาวนานหลายสิบปี
.
ก่อนหน้าที่ชาร์มา ซึ่งเกิดในอินเดียจะเข้าทำหน้าที่บริหารบริษัทจัดการลงทุนชื่อดังของสหรัฐฯ พบว่าเขาเคยทำงานในฐานะนักยุทธศาสตร์ให้สถาบันการเงินมอร์แกน สแตนลีย์มาก่อน
.
ชาร์มา เล่าถึงการเดินทางของเงินบาทได้อย่างน่าสนใจทั้งในฐานะนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้มาเยือนไทย และในฐานะนักลงทุน ผ่านบทความ The untold story of the world’s most resilient currency หรือ “เรื่องที่ไม่เคยเล่าของสกุลเงินที่มีความยืดหยุ่นมากที่สุดในโลก” กล่าวว่า เมื่อ 25 ปีก่อนในเดือนเดียวกัน (กุมภาพันธ์) เมื่อปี 1998 เขาได้มีโอกาสมาเยือนกรุงเทพฯ ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียครั้งมโหฬารในเวลานั้น
.
ชาร์มา ระบุอีกว่า เงินบาทไทยซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นเสมือนโดมิโนให้ค่าสกุลเงินอื่นๆ ภายภูมิภาคล้มไปตามๆ กัน เศรษฐกิจไทยในเวลานั้นหดตัวไปเกือบ 20% ท่ามกลางคนออกมาประท้วง หุ้นไทยตกไปกว่า 60% และค่าเงินบาทของไทยตกไปมากกว่าครึ่งของเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ
.
ชาร์มากล่าวอย่างติดตลกว่า เขาในฐานะนักลงทุนไม่กล้าแม้ที่จะซื้อหุ้นไทยที่มีความผันผวนมาก แต่อดไม่ได้ที่จะเดินกลับออกมาจากห้างสรรพสินค้าพร้อมกับถุงชอปปิ้งมากมายและถุงกอล์ฟ 2 ชุด ที่ชุดหนึ่งตั้งจะให้เป็นของฝาก
.
นอกจากนี้ ในบทความกล่าวว่า ไทยที่นับตั้งแต่ปี 1998 ได้หายออกไปจากเรดาร์ของโลก แต่ทว่าเป็นสิ่งที่น่าแปลกประหลาดกลับพบว่าสกุลเงินบาทไทยสามารถพิสูจน์ตัวเองว่ามีความยืดหยุ่นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เพราะสามารถคงเสถียรภาพของค่าเงินตัวเองไว้ได้ต่อสกุลเงินดอลลาร์ได้ดีมากกว่าสกุลเงินของประเทศกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ และดีมากกว่าทั้งหมดเว้นแต่เงินฟรังก์ของสวิตเซอร์แลนด์ในซีกโลกพัฒนาแล้ว
.
แต่ในทางตรงข้าม ชาร์มาเทียบกับสกุลเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซีย ที่ในปี 1998 วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งส่งผลทำให้อดีตประธานาธิบดีเผด็จการซูฮาร์โต ของอินโดนีเซียต้องตกจากอำนาจ อัตราแลกเปลี่ยนเงินรูเปียห์ 15,500 รูเปียห์ต่อ 1 ดอลลาร์ อ่อนค่าจากแต่เดิม 2,400 รูเปียห์ต่อ 1 ดอลลาร์ ก่อนเกิดวิกฤตการเงินเอเชียครั้งมโหฬาร
.
เขากล่าวว่า สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเช่นเขาแล้ว แทบจะไม่เคยรู้สึกว่าไทยนั้นแพงเกินไป เป็นต้นว่า คุณจะสามารถหาโรงแรมระดับ 5 ดาวได้ในราคาแค่ 200 ดอลลาร์สหรัฐ/คืน ดินเนอร์มื้อหรูที่ภูเก็ตในราคาระดับ 30 ดอลลาร์สหรัฐ และถึงแม้ว่าเงินบาทจะแข็งค่าอย่างไรก็ตาม ทว่าไทย ยังคงความสามารถทางการแข่งขันในระดับโลก ศูนย์กลางของวิกฤตต้มยำกุ้งกลายเป็นสมอเรือแห่งความเสถียรและกลายเป็นบทของการเรียนรู้สำหรับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อื่นๆ ตามมา
.
ชาร์มาเล่าต่อว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังปี 2000 ที่รัฐบาลไทยนับแต่นั้นยังมีงบประมาณขาดดุลเฉลี่ย (deficit) ที่ 1% ของตัวเลขจีดีพี (GDP) น้อยกว่าครึ่งโดยเฉลี่ยของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (emerging economies) ขณะที่ธนาคารกลางไทยยังคงเดินนโยบายอนุรักษนิยมที่รัดกุม ซึ่งผลจากการดำเนินนโยบายแบบอนุรักษนิยมนี้ส่งให้ไทยมีอัตราเงินเฟ้อต่ำ ผู้เชี่ยวชาญการเงินระดับโลกแสดงความชื่นชม
.
การไหลเข้ามาอย่างคงที่ของเงินต่างชาติ ไทยยังคงถือเป็นประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่เปิดกว้างมากที่สุด การค้าขายเพิ่มจาก 80% ของจีดีพีในปี 1998 มาอยู่ที่กว่า 110% ในปัจจุบัน พบว่าในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่มีเพียงแค่ จีน ไต้หวัน และซาอุดีอาระเบีย เท่านั้นที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำกว่าไทยนับตั้งแต่ปี 1998
.
อย่างไรก็ตาม ในสายตาของประธานร็อคกีเฟลเลอร์ แคปพิทอล แมเนจเมนท์ และอดีตผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดเศรษฐกิจเกิดใหม่ประจำมอร์แกน สแตนลีย์ “ไทย” ยังคงมีจุดอ่อนรวมถึงหนี้ครัวเรือนที่สูงกว่าและประชากรสูงอายุที่เกิดเร็วกว่าเมื่อเทียบกับชาติคู่แข่งอื่นๆ และที่สำคัญไทยยังคงสามารถคงเสถียรภาพทางการเงินเอาไว้ได้ถึงแม้จะเจอกับมรสุมทางการเมืองอย่างสม่ำเสมอ
.
ชาร์มา สรุปว่าจากการที่ไทยสามารถเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ที่ทั้งสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งมีความเสถียรและอยู่ในประเทศซีกโลกพัฒนาแล้ว และสกุลเงินฟรังก์สวิสนั้นไม่เคยประสบ ส่งผลทำให้ผู้เขียน รูชีร์ ชาร์มา ลงความเห็นตัดสินว่า สกุลเงินบาทไทยกลายเป็นสกุลเงินที่มีความยืดหยุ่นมากที่สุดในโลกไปด้วยประการฉะนี้ และยังกลายเป็นเคสการศึกษาสำหรับการทำเศรษฐกิจแบบรัดกุม (economic orthodoxy) ไปในตัว
.

ThePoint #Newsthepoint #ข่าวเศรษฐกิจ #ไฟแนนเชียลไทม์ส #สกุลเงิน #เงินบาทไทย #รูชีร์ชาร์มา #นายก